วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

*แสดงการเชื่อมต่ออินเทอเน็ตผ่านสายโทรศัพท์

เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูกขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษีกลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนักพอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอกจากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับอินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่ 4 วิธี
การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารอบรมนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก
การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดยตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็นภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง
การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection) การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียงจอของเครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแต่ประการใด แต่ในขณะที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่องไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจากบทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอช การติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่องจากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอาข้อมูลชนิดอื่นมาได้
การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือนกับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียงไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์ หรืออีเมล์เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เราใช้ได้ก็คือ ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์
วิธีการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต


เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูกขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษีกลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนักพอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอกจากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับอินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่ 4 วิธี
การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารอบรมนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก
การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดยตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็นภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง
การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection) การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียงจอของเครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแต่ประการใด แต่ในขณะที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่องไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจากบทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอช การติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่องจากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอาข้อมูลชนิดอื่นมาได้
การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือนกับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียงไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์ หรืออีเมล์เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เราใช้ได้ก็คือ ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์

Aircard


Aircard คืออะไร

แอร์การ์ด คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง PC และ Notebook เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS และ EDGE ในปัจจุบัน ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนขอแค่ให้มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็สามารถใช้งานแอร์การ์ดเพื่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้ทันที วิธีการใช้ก็เพียงแต่ นำซิมโทรศัพท์ที่ได้เปิดบริการ gprs แล้วมาเสียบเข้าไปในตัวแอร์การ์ด (จากนั้นก็ทำการลงโปรแกรม driver ของแอร์การ์ด ซึ่งในปัจจุบันจะมีแอร์การ์ดรุ่นใหม่ ๆ ที่จะทำงานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลง driver) นำแอร์การ์ดเสียบในช่อง pcmcia หรือที่ช่อง USB interface ของ notebook จากนั้นก็เปิดโปรแกรมconnect แอร์การ์ดก็จะทำหน้าที่เชื่อมสัญญาณให้เราสามารถใช้ internet ได้ทันที ฉะนั้นเราจะมัวใช้โทรศัพท์เชื่อมต่อกับ notebook ให้ยุ่งยากทำไม ในเมื่อแอร์การ์ดถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกกว่า มีความเสถียรกับระบบมากกว่า กินไฟน้อยกว่า ใช้งานได้ต่อเนื่องนานกว่าเป็น10ชั่วโมง ความเร็วของ EDGE นั้นสามารถใช้เข้าอินเตอร์เน็ต ฟังเพลง เล่นเกมส์ chat พร้อมดู webcam ได้สบาย แต่ EDGE นั้นไม่ต่างจากคลื่นมือถือตรงที่ว่าในบางช่วงเวลาสัญญาณจะอ่อนหรือหายไป ซึ่งจะทำให้ net เดินสะดุด ความเร็วของ EDGE นั้นยังไม่สามารถใช้ดู TV หรือ Youtube ได้ต่อเนื่องจำเป็นต้อง download ให้เสร็จก่อนค่อยดูทีเดียว ต้องรอระบบ 3G ที่เป็นแบบ HSDPA เท่านั้น ที่วิ่งด้วยความเร็ว 3.6-7.2Mbps จึงสามารถใช้ดู TV ได้ 3-5 ช่องพร้อมกันแบบสบายๆ ไม่มีติดขัด คุณสมบัติที่ควรมีใน Aircard สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้หลากหลายระบบ เช่น Window Vista, Window XP, Window ME, Window 2000 หรือ Mac OSX ใช้งานโดยเสียบเข้ากับ USB port ได้ หรือไม่ก็ใช้ช่อง Slot PCMCIA ของ Labtop สามารถอัพเกรด firmware ได้โดยใช้งานได้ทั้งกับเครือข่าย UMTS/ EDGE/ GSM สามารถรองรับซิมของระบบโทรศัพท์มือถือบ้านเราได้ทุกค่าย รองรับระบบ 3G และ EDGE Class 12/ GPRS Class 12 รองรับการใช้งาน Voice หรือส่ง SMS ควรเลือก Aircard ที่กินไฟน้อย เพราะเหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องโน้ตบุ๊ค หากเราใช้ Aircard ที่กินไฟมากๆ พลังงานในแบตเตอรี่ของเครื่องก็จะหมดเร็วไปด้วย ระบบ GPRS คืออะไร / เทคโนโลยี GPRS หมายถึง / ความเร็ว GPRS ในช่วงเริ่มต้นของระบบ GSM โทรศัพท์มือถือที่ใช้จะเป็นระบบ Analog ซึ่งไม่สามารถใช้รับส่ง Data อะไรได้เลย สามารถใช้โทรศัพท์พูดคุย ( Voice ) ได้อย่างเดียว ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นระบบ 2G ซึ่งจะใช้การรับส่งข้อมูลเป็นแบบ Digital ทำให้สามารถรับส่งข้อความ SMS จากเครื่องมือถือได้ เรียกได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการใช้โทรศัพท์มือถือ ต่อมามีการพัฒนาระบบเพื่อให้รองรับการรับส่งข้อมูล package จำนวนมากขึ้น ระบบ 2.5G จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นและเป็นต้นกำเนิด GPRS ระบบ EDGE คืออะไร / เทคโนโลยี EDGE หมายถึง / ความเร็ว EDGE ระบบ EDGE หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า 2.75G เป็นระบบที่ออกมาขั้นกลางระหว่างระบบ 2G กับ 3G (ปัจจุบันเราใช้ EDGE กันอยู่) EDGE นั้นพัฒนามาจากระบบ GPRS ให้สามารถรับส่งข้อมูลต่อ slot ได้สูงขึ้น โดยถ้าพัฒนากันจริงๆ สามารถรับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 384Kbps แต่สำหรับเมืองไทยนั้น ความเร็วสูงสุดของ EDGE ที่ Operator ปล่อยออกมานั้นจะอยู่ที่ 220 - 236.8Kbps เท่านั้น ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น ระบบ 3G ในเมืองไทยจะเป็นเทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+ สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ Aircard แบบที่รองรับ 3G ในปัจจุบันคลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันจะมีอยู่ 4 ความถี่คือ 850 , 900, 1900 และ 2100 ดังนั้นควรเช็คคลื่นความถี่ที่สามารถรองรับได้ให้ดีก่อนเลือกซื้อ Aircard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ เพราะคลื่นความถี่แต่ละความถี่นั้นจะถูกให้บริการจาก operator ที่ต่างกัน

เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายให้เหมาะกับที่บ้าน

เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายให้เหมาะกับที่บ้าน

พูดเรื่องเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบัน หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะกับระบบเครือข่าย ที่แค่หิ้วโน้ตบุ๊กก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องต่อสายแต่อย่างใด เรื่องราวของเน็ตเวิร์กไร้สาย ก็อย่างที่ได้กล่าวกันไปแล้วใน Cover Story ฉบับก่อนๆ เรียกว่าหากใครสนใจใคร่รู้เรื่องระบบเครือข่ายไร้สาย คงจะเข้าใจกันไปพอสมควรแล้ว

ทีนี้ก็มีบางประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับคนที่อยากนำเครือข่ายไร้สายไปประยุกต์ใช้งานด้วยตัวเอง ว่าควรต้องรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง โดยเนื้อหาในฉบับนี้ ผมขอนำคุณผู้อ่านเข้าสู่โลกไวร์เลสส์เน็ตเวิร์กกันอีกครั้ง เพื่ออัพเดตเนื้อหา รวมถึงการนำระบบเครือข่ายไร้สายไปใช้งานจริงด้วย

เลือกระบบให้ถูกต้อง
ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือที่เห็นกันบ่อยๆ ในชื่อ 802.11 นั้น เป็นหนึ่งในสมาชิกของระบบเครือข่ายตามมาตรฐานของ IEEE ซึ่ง 802.11 คือมาตรฐานของเครือข่ายไร้สาย หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Wireless Ethernet ก็ได้ เพราะจะทำงานในรูปแบบคล้ายๆ กัน สำหรับระบบ 802.11 มีการแบ่งใช้งานอยู่ 3 มาตรฐานด้วยกัน นั่นคือมาตรฐาน a b และ g ซึ่งมาตรฐาน b กับ g นั้น จะทำงานในย่านความถี่ ISM Band ที่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ส่วนมาตรฐาน a จะทำงานในย่านความถี่ ISM band 5.7 กิกะเฮิรตซ์ โดย a กับ g สามารถทำงานร่วมกันได้ ส่วน g ถือเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ b เพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลให้สูงกว่าเดิม

ISM band คืออะไร? ISM ย่อมาจาก Industrial Sciences Medicine หรือคลื่นความถี่สาธารณะสำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ โดยย่านความถี่สำหรับคลื่นวิทยุในโลกนี้ จัดได้ว่ามีการควบคุมการเป็นเจ้าของหรือใช้งาน ซึ่งงานวิจัยสำหรับการขอคลื่นความถี่มาใช้งานทำได้ค่อนข้างยาก จึงมีการตั้ง ISM band นี้ขึ้นมาสำหรับการวิจัยโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็นสามย่านความถี่ คือ 900 เมกะเฮิรตซ์, 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ สำหรับ Wireless Network 802.11 จะใช้สองย่านความถี่หลัง แต่เนื่องจากความถี่ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ นั้น มีการยอมให้ใช้ได้เฉพาะบางประเทศเท่านั้น (ส่วนที่เหลืออาจจะถูกจัดสรรไปให้กับองค์กรต่างๆ ก่อนจะมีการประกาศ ISM Band ออกมา) ทำให้มาตรฐาน a ไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศบางประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เราจึงใช้งานได้เฉพาะ 802.11b และ g เท่านั้น (การพัฒนามาตรฐาน g ก็มาจากเหตุผลนี้เช่นกัน)

มาตรฐาน b และ g ต่างกันอย่างไร ?
ในที่นี้ขอพูดเพียงแค่มาตรฐาน b และ g เท่านั้น ส่วน a คงต้องตัดออกไป เพราะยังไงก็ไม่สามารถจะนำมาจำหน่ายอย่างถูกกฏหมายในบ้านเราได้ ซึ่งรายละเอียดของความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน b และ g นั้น จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง และลงรายละเอียดด้านเทคนิคค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของการโมดูเลชันที่แตกต่างกัน การเข้ารหัส รวมทั้งการคอมเพรสชัน แต่สรุปโดยรวมก็คือ มาตรฐาน b กับ g จะแตกต่างกันในเรื่องของแบนวิดธ์ในการส่งข้อมูลเป็นหลัก โดยที่มาตรฐาน b ทำได้เพียง 11 เมกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น ส่วน g สามารถทำได้ถึง 54 เมกะบิต (ซึ่งอันที่จริงความเร็ว 11 เมกะบิต และ 54 เมกะบิตที่ว่า จะมีอัตราการส่งข้อมูลได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เท่ากับว่า 11 เมกะบิต จะเหลือเพียงประมาณ 6 เมกะบิต ส่วน 54 เมกะบิต เหลือเพียง ประมาณ 30 เมกะบิต ส่วนที่เหลือจะเป็นการโอเวอร์เฮด เพื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลน้อยที่สุด)

นอกเหนือจากเรื่องของความถี่แล้ว ยังมีผลในเรื่องของขอบเขตการใช้งานด้วย เช่น มาตรฐาน b จะมีรัศมีการให้บริการอยู่ที่ 100 ฟุต แต่ถ้าเป็น g จะลดลงมาอีก ซึ่งหมายความว่า g จะมีขอบเขตการให้บริการที่น้อยกว่า สาเหตุก็เพราะต้องการให้ข้อมูลส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไม่มีข้อผิดพลาด หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด เนื่องจากว่ายิ่งไกลเท่าไหร่ อัตราการรบกวนของคลื่นวิทยุก็จะมีสูงขึ้นเท่านั้น ดังกล่าว หากใช้มาตรฐาน g ในระยะทางเท่ากับ b การรับส่งข้อมูลก็อาจเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า เนื่องจากความหนาแน่นของข้อมูลของมาตรฐาน g นั้น มีมากกว่า b หลายเท่า

ย่านความถี่ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม
ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับเครือข่ายไร้สายคือ การรบกวนกันของคลื่นสัญญาณ โดยเฉพาะย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์นั้น มีอุปกรณ์มากมายที่ใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตู้ไมโครเวฟ โทรศัพท์บ้านไร้สาย และอุปกรณ์ Bluetooth ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือว่าพีดีเอ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่กล่าว ต่างก็สามารถรบกวนการส่งสัญญาณของเครือข่ายไร้สายได้ แถมที่หนักหนาสาหัสก็คือ หากมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ใกล้เครือข่ายไร้สายมากๆ เครือข่ายไร้สายนั้นๆ ก็อาจจะใช้งานไม่ได้ทีเดียว

แล้วเราจะทำอย่างไรดี? อันที่จริงจากการพัฒนามาโดยตลอดทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดน้อยลง เช่น โมโครเวฟก็มีการซิลด์ที่ดีขึ้น มีการรั่วไหลของคลื่นไมโครเวฟน้อยลง จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย แต่ที่ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันก็คือ คลื่นบลูทูธ และโทรศัพท์บ้านไร้สายในย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ การงดใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ในขอบเขตการใช้งานเครือข่ายไร้สาย อย่างไรก็ตาม ยังโชคดีอยู่บ้างที่ระบบจะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง หลังจากที่ปิดหรืองดใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไปแล้ว

ไม่เพียงแค่อุปกรณต่างระบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้งานต่างมาตรฐานกันด้วย เช่น หากต้องการนำมาตรฐาน g ไปใช้กับ b ประสิทธิภาพก็จะเหลือเพียง b เท่านั้น ดังนั้น การใช้งานจึงควรจะใช้ร่วมกับมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด

การวางระบบเครือข่ายไร้สาย
ทีนี้มาดูกันครับว่า เราจะวางระบบไร้สายกันยังไง เพราะระบบไร้สาย จะแตกต่างจากระบบที่ใช้สายในบางส่วน อย่างที่เรารู้กันว่า เน็ตเวิร์กตามบ้านสามารถเชี่อมต่อกันระหว่างเครื่อง หรือจะใช้ฮับ (Hub) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ซึ่งในระบบไร้สายเองก็เช่นกัน ที่มีการเชื่อมต่ออยู่สองแบบ นั่นคือแบบที่เรียกว่า Ad Hoc Network และ อีกแบบเรียกว่า Infrastructure Network โดยทั้งสองแบบนี้ จะแตกต่างกันในเรื่องของการทำงานและโครงสร้างในการรับส่งข้อมูล สำหรับ Ad hoc network นั้น เปรียบเสมือนการเชื่อมต่อระหว่างการ์ด Wireless เข้าหากันโดยตรง เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ Direct ก็ได้ ส่วน Infrastructure จะเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางแอ็กเซสพอยนต์หรือจุดให้บริการในการเชื่อมต่อ ที่เป็นเหมือนฮับหรือสวิตช์นั่นเอง ซึ่งแอ็กเซสพอยนต์นี้ สามารถต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์กที่มีอยู่เดิมได้ และสะดวกสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์กเดิมกับเครือข่ายไร้สายอันใหม่

สำหรับการใช้งานในวงเน็ตเวิร์กภายในบ้าน หากคุณมีระบบเน็ตเวิร์กอยู่แล้ว ก็สามารถติดตั้ง Access Point เข้ากับระบบเครือข่ายได้เลย โดยเชื่อมต่อ Access Point เหมือนกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์กตัวหนึ่ง เพียงเท่านี้ ก็สามารถให้บริการอุปกรณ์ไวร์เลสส์อื่นๆ ได้แล้ว

แต่หลังจากการติดตั้ง Access Point เราต้องระวังอยู่อย่างหนึ่ง เพราะโดยปกติแล้ว แอ็กเซสพอยนต์ที่มาจากโรงงานจะยังไม่มีการเซตค่าความปลอดภัยให้ ดังนั้นใครก็ตามที่อยู่ในรัศมีทำการของ Access Point ก็สามารถจะใช้บริการได้ทันที ทางที่ดีจึงควรจะเลือกเซตค่าการป้องกันให้กับแอ็กเซสพอยนต์เสียก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะมีซอฟต์แวร์แถมมาพร้อมกับแอ็กเซสพอยนต์ด้วย เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยมากขึ้น

การติดตั้ง Access Point มีข้อควรระวังคือ เรื่องของการกระจายสัญญาณ เพราะการรับส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุนั้น ย่อมจะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและสิ่งกีดขวาง ที่จะทำให้คลื่นวิทยุส่งไปไม่ถึง โดยเฉพาะการส่งข้อมูลระหว่างชั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ มักจะมีการฝังวัสดุที่เป็นเหล็กเอาไว้ภายใน ซึ่งสามารถดูดซับคลื่นวิทยุเอาไว้ ทำให้เคลื่นวิทยุไม่สามารถส่งผ่านตัวกลางเหล่านี้ได้อย่างสะดวก เรียกว่าหากผนังห้องมีการฝังเหล็กเส้นเอาไว้จำนวนมาก คลื่นวิทยุก็จะไม่สามารถส่งผ่านผนังไปได้ ปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือ การติดตั้งแอ็กเซสพอยนต์ที่อยู่คนละชั้นกับเครื่องที่ต้องการใช้งานแล้วเกิดปัญหา เพราะด้วยขนาดของเพดานที่กั้นกลางระหว่างชั้น จะทำให้สัญญาณส่งไปไม่ถึงนั่นเอง

ในกรณีที่คุณติดตั้ง Wireless Network ภายในบ้าน มีความสะดวกอยู่อย่างหนึ่งคือ คุณไม่จำเป็นต้องเดินสายไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ติดตั้งแอ็กเซสพอยนต์และเสียบปลั๊กเพื่อใช้งาน ก็สามารถจะเชื่อมต่อเข้าหากันได้ทันที โดยอาจจะกำหนดหมายเลขไอพีให้กับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบ โดยไม่จำเป็นต้องต่อสายเน็ตเวิร์กเข้ากับแอ็กเซสพอยนต์แต่อย่างใด ซึ่งแอ็กเซสพอยนต์จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เอง ข้อควรระวังก็คือ เรื่องของสัญญาณที่ต้องครอบคลุมทุกจุดที่เราต้องใช้งาน

เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ฉับไวมากกว่าเดิม โดยเฉพาะ ADSL ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้าน โดยเราสามารถแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้กับคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องผ่านทางไวร์เลสส์ได้ สิ่งที่จำเป็นก็คือ การเลือกใช้โมเด็มแบบเราเตอร์ที่สามารถต่อกับระบบเครือข่ายได้เลย โดยไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วนำแอ็กเซสพ้อยนต์ ไปต่อกับโมเด็มเราเตอร์ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้บริการไวร์เลสส์อินเทอร์เน็ตภายในบ้านได้แล้ว โดยที่คุณไม่ต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

แต่หากเราไม่มีโมเด็มแบบเราเตอร์ งานนี้ก็ต้องอาศัยพึ่งพาคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นแม่ข่ายในการต่อใช้งาน และให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายกันละครับ ซึ่งวิธีการก็คือ ต่อแอ็กเซสพ้อยนต์เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับโมเด็มผ่านทางช่องทางอีเธอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นตลอดเวลายามที่ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย

Internet explorer